อาคารผู้โดยสาร 1 ของ ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด

The ATC towerInside Concourse C

อาคารผู้โดยสารขาออก

อาคารผู้โดยสารขาออกของท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัดแห่งนี้ มีด้วยกัน 2 อาคาร

อาคารอิมิรี่

อาคารผู้โดยสารอิมิรี่ เป็นอาคารผู้โดยสารที่สร้างขึ้นแยกจากตัวอาคารผู้โดยสารหลัก เพื่อให้บริการสำหรับเจ้านายชั้นสูง ผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาล และผู้มีฐานันดรศักดิ์ที่เสด็จหรือได้รับคำเชิญจากทางกาตาร์ ที่ถูกออกแบบอย่างหรูหรา ภายในมีเคาเตอร์เช็คอินทั้งหมด 6 เคาเตอร์ และเคาเตอร์ทางออกอีก 1 เคาเตอร์ ให้บริการเฉพาะสายการบินประจำชาติเท่านั้น

อาคารผู้โดยสารขาออกหลัก

เป็นอาคารผู้โดยสารสำหรับผู้โดยสารทั้งชั้นหนึ่ง ชั้นธุรกิจ และผู้โดยสารทั่วไป ประกอบด้วยกลุ่มแถวให้บริการ 1 ถึง 10 โดยแถวที่ 1 และ 2 เป็นผู้โดยสารในชั้นหนึ่งของสารการบินการตาร์แอร์เวย์เท่านั้น ส่วนแถวที่สองเป็นการให้บริการในชั้นธุรกิจ ส่วนแถวที่ 3 ถึง 6 เป็นการให้บริการในชั้นประหยัด ส่วนแถวที่ 7 ถึงแถวที่ 10 เป็นของสายการบินอื่นๆ ที่ทำการบินมายังสนามบินแห่งนี้ โดยแต่ละแถวมีจำนวนของเคาเตอร์เช็คอินตั้งแต่ 12 ถึง 14 เคาท์เตอร์

  • อาคารเทียบเครื่องบิน เอ มีทางออกขึ้นอากาศยาน 10 ทาง โดยอยู่ทางทิศตะวันตกของพื่นที่เช็คอิน มี 2 ประตูที่ออกแบบเพื่อรองรับ แอร์บัส เอ 380.
  • อาคารเทียบเครื่องบิน บี มีทางออกขึ้นอากาศยาน 10 ทาง โดยอยู่ทางทิศตะวันออกของพื่นที่เช็คอิน โดยเปิดให้บริการวันที่ 30 เมษายน 2014 มี 10 สายการบินที่ถ่ายโอนมาจากท่าอากาศยานนานาชาติโดฮา มี 2 ประตูที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับ แอร์บัส เอ 380 มีร้านกาแฟเล็ก ตั้งอยู่ส่วนท้ายของกลุ่มอาคาร มีพื้นที่สำหรับสูบบุหรี่ พื้นที่สำหรับครอบครัว และร้านค้าปลอดภาษี .[14]
  • อาคารเทียบเครื่องบิน ซี มีทางออกขึ้นอากาศยาน 13 ทาง โดยอยู่ทางทิศเหนือของพื่นที่เช็คอิน มี 2 ประตูที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับ แอร์บัส เอ 380 และมีประตูระยะไกลที่ใช้รถบัสในการรับส่งผู้โดยสารในพื้นที่นี้ด้วย
  • อาคารเทียบเครื่องบิน ดี รอเปิดอย่างเป็นทางการ
  • อาคารเทียบเครื่องบิน อี รอเปิดอย่างเป็นทางการ

อาคารผู้โดยสาร 1 มีส่วนสำหรับรับรองผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ บริหารงานโดย กาตาร์แอร์เวย์

แผนการ อาคารผู้โดยสาร 2

กาตาร์มีแผนสร้างอาคารผู้โดยสาร 2 ในท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่มากขึ้นในอนาคตและส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการจัดมหกรรมฟุตบอลโลก 2022[15]

รันเวย์

สนามบินแห่งนี้มี 2 รันเวย์ที่ขนานกันระยะห่างกัน (1.2 ไมล์) สำหรับการขึ้นลงของอากาศยาน รันเวย์แรกคือ 4,850 เมตร× 60 เมตร เป็นรันเวย์ที่มีความยาวที่สุดใน เอเชียตะวันตก, และรันเวย์นี้ยังเป็นรันเวย์หนึ่งที่ยาวที่สุดในโลก รันเวย์ที่สอง 4,250 เมตร× 60 เมตร[2]

ใกล้เคียง

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) ท่าอากาศยานนานาชาติฮะมัด ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี

แหล่งที่มา

WikiPedia: ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด http://www.arabianaerospace.aero/qatar-airways-con... http://www.arabianaerospace.aero/qatar-announces-n... http://www.falcongroup.bz/#/5_express_cargo_airlin... http://www.ch-aviation.ch/portal/news/23865-qatar-... http://dohanews.co/new-april-30-soft-launch-date-s... http://www.airport-technology.com/projects/doha/ http://www.ameinfo.com/qatars-hamad-international-... http://www.arabianbusiness.com/qatar-air-launch-si... http://www.bahrainaims.com/airac0114/2012-10-18-AI... http://www.businesstraveller.com/news/dohas-hamad-...